จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

974256
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
รวม
8
70
1591
968073
9541
3522
974256

ไอพีของท่าน: 34.230.35.103
เวลา: 2024-03-29 00:56:34
medianews
boat
boat
boat
boat
boat
boat

 


progressnews
boat พื้นที่ตั้งโครงการ
boat งค์ประกอบโครงการ
boat ผลประโยชน์โครงการ
boat แผนพัฒนาโครงการ

สรุปผลการประชุมกลุ่มย่อยระดับพื้นที่ ครั้งที่ 1 (เขื่อนบน)

การประชุมกลุ่มย่อยระดับพื้นที่ ครั้งที่ 1 เป็นหนึ่งในกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ดำเนินการต่อเนื่องจากการสัมมนาระดับจังหวัดเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 (Public Scoping) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ชี้แจงข้อมูลเบื้องต้น ได้แก่ ความเป็นมาและเหตุผลความจำเป็น วัตถุประสงค์โครงการ ขอบเขตของการดำเนินงาน พื้นที่ศึกษา และลักษณะโครงการ เป็นต้น ให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องต่อแนวทาง/ขั้นตอนการศึกษาโครงการฯ (2) เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ รวมทั้งประเด็นห่วงกังวลต่างๆ ที่เกิดจากการพัฒนาโครงการ เพื่อให้แนวทางการศึกษาโครงการสอคล้องกับสภาพปัจจุบัน และสภาพปัญหาของประชาชนในพื้นที่ และ (3) เพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่
ดำเนินการจัดประชุมกลุ่มย่อยระดับพื้นที่ ครั้งที่ 1 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2556 เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ ศาลาวัดใหม่ หมู่ที่ 1 ตำบลน้ำทรง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ หน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หน่วยงานราชการในระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง สถาบันการศึกษาภายในท้องถิ่น สื่อมวลชนท้องถิ่น ประชาชนทั่วไป กรมเจ้าท่า และกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 196 คน มีขั้นตอนการดำเนินการจัดประชุม ดังนี้
     (1) ประธานกล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม โดย นายมานิต อนรรฆมาศ นายอำเภอพยุหะคีรี
     (2) การให้ข้อมูลกับผู้เข้าร่วมการสัมมนา แบ่งออกเป็น 2 ช่วง
        - ช่วงแรกเป็นการนำเสนอรายละเอียดโครงการ ประกอบด้วย ความเป็นมา วัตถุประสงค์ ขอบเขตการศึกษา และทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมและที่ตั้งโครงการ โดยนายวิรัช องค์ประเสริฐ ผู้จัดการโครงการ
           - ช่วงที่สองเป็นการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมการสัมมนาต่อความก้าวหน้าผลการศึกษาโครงการ
  (3) การแสดงความคิดเห็นและการตอบข้อซักถามของผู้เข้าร่วมการประชุม ผู้เข้าร่วมการประชุมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อขอบเขตการศึกษาความเหมาะสม และความก้าวหน้าผลการศึกษาโครงการ และประเด็นข้อห่วงกังวลต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องการโยกย้ายเวนคืน ซึ่งมีวิทยากรหลักที่ทำหน้าที่ตอบข้อซักถามเกี่ยวกับโครงการและคำถามถามอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับผู้เข้าร่วมการสัมมนา ประกอบด้วย โดยนายวิรัช องค์ประเสริฐ ผู้จัดการโครงการ นางสาววรางคณา เหรียญทอง นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม (อาวุโส) นายนพดล กรุดนาค นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม (อาวุโส) และผู้ดำเนินรายการเพื่อคัดกรองคำถามโดยนายจักรกริช ธรรมศิริผู้เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน
   (4) การสำรวจความคิดเห็นผู้เข้าร่วมการประชุมา ดำเนินการโดยวิธีการแจกแบบสอบถามให้ผู้เข้าร่วมประชุมกรอกแสดงความคิดเห็นและส่งคืนให้กับเจ้าหน้าที่เมื่อสิ้นสุดการประชุม

สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการอภปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เขื่อนบนสามารถสรุปได้ดังนี้

ด้านการชดเชยและเวนคืนทรัพย์สิน

1) ขอทราบรายละเอียดหลักเกณฑ์การชดเชยที่ดินและทรัพย์สิน และการจัดสรรพื้นที่อพยพตั้งถิ่นฐานใหม่
2) หากมีการก่อสร้างและต่อเติมที่อยู่อาศัยสิ่งปลูกสร้างในช่วงระหว่างการศึกษาโครงการ จะมีผลต่อการจ่ายค่าชดเชยทรัพย์สินหรือไม่


ด้านวิศวกรรม

1) เสนอให้มีประตูระบายน้ำเพื่อรองรับภาวะน้ำหลาก
2) จากการออกแบบอาคารและองค์ประกอบภายในพื้นที่ตั้งเขื่อน เสนอให้สร้างหอประชุม รองรับจำนวน 300 คน เพื่อใช้ในการจัดประชุมร่วมกับหน่วยงานราชการและประชาชนในพื้นที่อำเภอพยุหะคีรี
3) ขอทราบแผนการดำเนินการก่อสร้างโครงการ เพื่อวางแผนการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพและการวางแผนการก่อสร้างโครงการ
4) จากการเดินเรือที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อการกัดเซาะตลิ่ง
5) ขอทราบตำแหน่งที่มีการปรับปรุงสะพาน
6) เสนอให้มีการใช้ประโยชน์น้ำเพื่อการเกษตร


ด้านเศรษฐศาสตร์

เสนอให้เปรียบเทียบต้นทุนการขนส่งระหว่างทางบกและทางน้ำ เพื่อพิจารณาถึงความคุ้มค่าของโครงการ


ด้านสิ่งแวดล้อม

จากการก่อสร้างโครงการ อาจส่งผลกระทบช่วงก่อสร้างต่อประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ข้างเคียง ซึ่งจากข้อคิดเห็นนี้ที่ปรึกษาจำนำไปกำหนดมาตรการป้องกันแก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะผลกระทบจากเครื่องจักร การขนย้ายวัสดุ และการเข้าออกชุมชน

 

updam