informationnews

ข่าวประชาสัมพันธ์

menuinfonews 07

สรุปผลการรับฟังความคิดเห็นจากการประชุมกลุ่มย่อยระดับพื้นที่ ครั้งที่ 4

          กรมเจ้าท่าร่วมกับกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาฯ ได้ดำเนินการประชุมกลุ่มย่อยระดับพื้นที่ ในพื้นที่ตั้งเขื่อนบน พื้นที่เขื่อนล่าง พื้นที่องค์ประกอบและกิจกรรมอื่นๆ เช่น การปรับปรุง ปตร.พระงาม/ปตร.บางเก้าชั่ง การรื้อถอนรอบังคับกระแสน้ำ การยกระดับและปรับปรุงสะพานพรหมบุรี เขื่อนป้องกันตลิ่ง คันป้องกันน้ำล้นตลิ่ง การขุดลอกร่องน้ำ และการปรับปรุงท่าเรือนครสวรรค์และท่าเรือตะพานหิน เป็นต้น เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน เพื่อนำผลจากการประชุมมาประกอบการวิเคราะห์ประเมินและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้มีความครบถ้วน ครอบคลุมทุกประเด็นที่สำคัญ โดยได้ดำเนินการจัดรับฟังความคิดเห็นไปแล้วเมื่อวันที่ 6 – 10 ตุลาคม 2557 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ และจังหวัดพิจิตร และวันที่ 19 ธันวาคม 2557 ณ ศาลาประชาคม SML หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี รวมผู้เข้าร่วมประชุม 751 ท่าน มีรายละเอียดผลการรับฟังความคิดเห็นจากการประชุมกลุ่มย่อยระดับพื้นที่ที่ดำเนินการจัดการประชุมแล้วเสร็จทั้ง 8 เวที มีสรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้

1) วัตถุประสงค์การจัดประชุม ประกอบด้วย
    (1) เพื่อนำเสนอข้อมูลรายละเอียดโครงการ เช่น เหตุผลความจำเป็น วัตถุประสงค์ พื้นที่ศึกษาเขื่อนยกระดับและพื้นที่องค์ประกอบโครงการ ระยะเวลาดำเนินการโครงการ งบประมาณ ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รวมทั้งมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เป็นต้น ให้กับผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบ ตลอดจนนำเสนอผลการศึกษาในส่วนที่ได้ดำเนินการเสร็จแล้ว
    (2) เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ รวมทั้งประเด็นห่วงกังวลต่างๆ ที่เกิดจากการพัฒนาโครงการ เพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์ และเพื่อจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

2) ข้อมูลข่าวสารที่นำเสนอ
    (1) เหตุผลความจำเป็นโครงการ
    (2) วัตถุประสงค์ของการศึกษา
    (3) วัตถุประสงค์ของการประชุม
    (4) พื้นที่ศึกษา
    (5) ลักษณะเขื่อนยกระดับและองค์ประกอบโครงการ
    (6) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สุขภาพและสังคม
    (7) มาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ
    (8) การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้ส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ
    (9) ระยะเวลาดำเนินการโครงการ
    (10) งบประมาณโครงการ
    (11) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
    (12) ช่องทางในการติดต่อสอบถามข้อมูล

3) พื้นที่ศึกษา ครอบคลุมพื้นที่ตั้งโครงการเขื่อนยกระดับน้ำและพื้นที่ตั้งขององค์ประกอบและกิจกรรมอื่น ประกอบด้วย
    (1) เขื่อนบน : หมู่ที่ 7 บ้านท่าตะโก ตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี และหมู่ที่ 1 บ้านวัดใหม่ ตำบลน้ำทรง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
    (2) เขื่อนล่าง : หมู่ที่ 2 บ้านมอญ และหมู่ที่ 6 บ้านกระทุ่มโพรง ตำบลพระงาม อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
    (3) การปรับปรุง ปตร.พระงาม/ปตร.บางเก้าชั่ง : ตำบลพระงาม อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
    (4) การรื้อถอนรอบังคับกระแสน้ำ เขื่อนป้องกันตลิ่ง คันป้องกันน้ำล้นตลิ่ง และการขุดลอกร่องน้ำ : ตั้งแต่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนถึงจังหวัดพิจิตร
    (5) ท่าเรือตะพานหิน หมู่ที่ 3 ตำบลงิ้วราย อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
    (6) ท่าเรือนครสวรรค์ ในเขตเทศบาลนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

4) กำหนดการ
    การประชุมกลุ่มย่อยระดับพื้นที่เป็นการประชุมแบบไม่เป็นทางการ เพื่อให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในกลุ่มตามประเด็นที่เป็นข้อวิตกกังวล และข้อห่วงใยในเรื่องต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับโครงการ โดยมีวิทยากรหลักที่นำเสนอและตอบข้อซักถามผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นายวิรัช องค์ประเสริฐ ผู้จัดการโครงการ นางชลิดา ประดิษฐ์กุล ผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม นางวรางคณา เหรียญทอง นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม นายมงคล ฟักอินทร์ วิศวกรโครงการ และนายจักรกริช ธรรมศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน ดำเนินการจัดประชุมแล้วเสร็จใน 8 เวที ดังนี้ (ประมวลภาพกิจกรรมการจัดประชุมดังรูปที่ 1-8)
    เวทีที่ 1 : วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม 2557 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    เวทีที่ 2 : วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม 2557 เวลา 13.30 -16.30 น. ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
    เวทีที่ 3 : วันอังคารที่ 7 ตุลาคม 2557 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ศาลาวัดสิงห์ หมู่ที่ 2 ตำบลพระงาม อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
    เวทีที่ 4 : วันอังคารที่ 7 ตุลาคม 2557 เวลา 13.30 - 16.30 น. ณ หอประชุมใหญ่ ชั้นที่ 2 ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท
    เวทีที่ 5 : วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม 2557 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ศาลาวัดใหม่ หมู่ที่ 1 ตำบลน้ำทรง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
    เวทีที่ 6 : วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม 2557 เวลา 13.30-16.30 น. ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
    เวทีที่ 7 : วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม 2557 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ หอประชุมศาลามหาดไทย 100 ปี ที่ว่าการอำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
    เวทีที่ 8 : วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ศาลาประชาคม SML ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี

 5) ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้ได้รับผลกระทบ (กลุ่มผู้เสียประโยชน์และกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์) หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หน่วยงานราชการในระดับต่าง ๆ องค์กรภาคเอกชน สถาบันการศึกษาภายในท้องถิ่น สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป ดังนี้
    (1) ผู้ได้รับผลกระทบ ได้แก่ ผู้นำชุมชนและประชาชนได้รับผลกระทบในพื้นที่ตั้งโครงการ และองค์ประกอบ
    (2) หน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
    (3) หน่วยงานราชการในระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด นายอำเภอ เทศบาลตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น
    (4) องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษาภายในท้องถิ่น และนักวิชาการอิสระ
    (5) สื่อมวลชนท้องถิ่น
    (6) ประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจ
    (7) หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย กรมเจ้าท่า และกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท เอทีที คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัทแอสดีคอน คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท ซี คอนซัลท์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด บริษัท เซ้าท์อี๊สท์เอเซียเทคโนโลยี่ จำกัด และ บริษัท แอ็ดว้านซ์ แทรคกิ้ง เซอร์วิสซ์ จำกัด
สำหรับการประชุมกลุ่มย่อยระดับพื้นที่ในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมรวมทั้ง 8 เวที จำนวนรวมทั้งสิ้น 751 คน ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 สรุปจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยระดับพื้นที่ รวม 7 เวที

1

 

หมายเหตุ เวทีที่ 1 : จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เวทีที่ 2 : จังหวัดอ่างทอง เวทีที่ 3 : จังหวัดสิงห์บุรี (พระงาม) เวทีที่ 4 : จังหวัดชัยนาท
เวทีที่ 5 : จังหวัดนครสวรรค์ (เขื่อนบน) เวทีที่ 6 : จังหวัดนครสวรรค์ เวทีที่ 7 : จังหวัดพิจิตร เวทีที่ 8 : จังหวัดสิงห์บุรี (บ้านหม้อ)

6) สรุปประเด็นสำคัญจากข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในภาพรวมจากการประชุมทั้ง 8 เวที
ประเด็นสำคัญที่ที่ประชุมเสนอแนะมากที่สุด คือ ผลจากการขุดลอกลำน้ำและเสนอแนะให้ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งก่อนการขุดลอกร่องน้ำ (จำนวน 7 เวที) ประเด็นรองลงมาคือความเพียงพอของน้ำต้นทุน โดยเฉพาะหน้าแล้ง (จำนวน 6 เวที) ความคุ้มค่าในการลงทุน รวมทั้งเรือและประเภทสินค้าที่จะใช้บริการ (จำนวน 5 เวที) การรุกล้ำน้ำเค็ม (จำนวน 4 เวที) อุบัติเหตุทางน้ำ ผลกระทบต่อระบบนิเวศทางน้ำจากการก่อสร้างโครงการ และผลกระทบต่อการประกอบอาชีพประมง/การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ(จำนวน 3 เวทีเท่ากัน) รายละเอียดดังนี้

2

7) ประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการประชุม เวทีที่ 1 - 8
    7.1) เวทีที่ 1 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการประชุมได้มีผู้แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ สามารถสรุปประเด็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาโครงการ ดังนี้


ตารางที่ 2 สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีที่ 1

3

 

p1

ตารางที่ 2 สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีที่ 1 (ต่อ)

4

ตารางที่ 2 สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีที่ 1 (ต่อ)

5

p2

7.2) เวทีที่ 2 : จังหวัดอ่างทอง ในการประชุมได้มีผู้แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ สามารถสรุปประเด็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาโครงการได้ดังนี้


ตารางที่ 3 สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีที่ 2

6

ตารางที่ 3 สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีที่ 2 (ต่อ)

7

ตารางที่ 3 สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีที่ 2 (ต่อ)

8

ตารางที่ 3 สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีที่ 2 (ต่อ)

9

 p3

7.3) เวทีที่ 3 : จังหวัดสิงห์บุรี ในการประชุมได้มีผู้แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ สามารถสรุปประเด็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาโครงการ ดังนี้


ตารางที่ 4 สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีที่ 3

10

ตารางที่ 4 สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีที่ 3 (ต่อ)

11

ตารางที่ 4 สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีที่ 3 (ต่อ)

12

p4

7.4) เวทีที่ 4 : จังหวัดชัยนาท ในการประชุมได้มีผู้แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ สามารถสรุปประเด็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาโครงการ ดังนี้

ตารางที่ 5 สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีที่ 4

 13

ตารางที่ 5 สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีที่ 4 (ต่อ)

14

ตารางที่ 5 สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีที่ 4 (ต่อ)

15

p5

7.5) เวทีที่ 5 : จังหวัดนครสวรรค์ (เขื่อนบน) ในการประชุมได้มีผู้แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ สามารถสรุปประเด็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาโครงการ ดังนี้

ตารางที่ 6 สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีที่ 5

16

7.6) เวทีที่ 6 : จังหวัดนครสวรรค์ ในการประชุมได้มีผู้แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ สามารถสรุปประเด็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาโครงการ ดังนี้


ตารางที่ 7 สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีที่ 6

p6

17

 

 ตารางที่ 7 สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีที่ 6 (ต่อ)

18

p7

7.7) เวทีที่ 7 : จังหวัดพิจิตร ในการประชุมได้มีผู้แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ สามารถสรุปประเด็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาโครงการ ดังนี้

ตารางที่ 8 สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีที่ 7

19

ตารางที่ 8 สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีที่ 7 (ต่อ)

20

 p8

7.8) เวทีที่ 8 : จังหวัดสิงห์บุรี (บ้านหม้อ) ในการประชุมได้มีผู้แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ สามารถสรุปประเด็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาโครงการ ดังนี้


ตารางที่ 8 สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีที่ 8

21

ตารางที่ 8 สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีที่ 8

22

นอกจากนั้นนายทวีป ผูกโพธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ ได้เสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อโครงการก่อสร้างเขื่อนยกระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาและน่านเพื่อการเดินเรือ และให้กรมเจ้าท่าเข้ามาดูแลใน 4 ประเด็นดังนี้
    1. เมื่อ 30 ปีที่แล้ว กรมเจ้าท่าได้อนุญาติให้มีการดูดทรายและการก่อสร้างรอบังคับกระแสน้ำได้ส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนและต้นไม้บริเวณริมตลิ่งเกิดการทรุดตัวและเสียหายหลายหลัง จนไม่สามารถอยู่อาศัยและต้องย้ายออกมาอยู่ข้างนอก ซึ่งชาวบ้านไม่สามารถเรียกร้องความรับผิดชอบจากหน่วยงานใดได้เลย
    2. การก่อสร้างโครงการอาจจะส่งผลกระทบการประกอบอาชีพของประชาชน เช่น การลอยข่าย ทอดแห ตกปลา และการเลี้ยงปลากระชัง เนื่องจากน้ำนิ่งบริเวณทำนบปิดกั้นลำน้ำเดิม ซึ่งอาจน้ำเน่าเสียได้
    3. ควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องขยะในบริเวณทำนบปิดกั้นลำน้ำเดิม เนื่องจากอบต.บ้านหม้อมีงบน้อย
    4. การจัดการผลประโยชน์ ใครได้ คนบ้านหม้อเสีย และควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบหากโครงการส่งผลกระทบดังเช่นเหตุการณ์ในอดีต

p9