informationnews

ข่าวประชาสัมพันธ์

menuinfonews 07

สรุปผลการประชุมกลุ่มย่อยระดับพื้นที่ ครั้งที่ 3 (เขื่อนล่าง)

การประชุมกลุ่มย่อยระดับพื้นที่ ครั้งที่ 3 เพื่อรายงานความก้าวหน้าผลการศึกษาของโครงการ และรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ รวมทั้งประเด็นข้อห่วงกังวลที่มีต่อการดำเนินการโครงการ ให้กับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่โครงการ โดยดำเนินการจัดประชุมเมื่อวันจันทร์ที่ 28 เมษายน 2557 เวลา 12.30 – 16.00 น. ณ ศาลาวัดสิงห์ หมู่ที่ 2 ตำบลพระงาม อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยมีกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ หน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หน่วยงานราชการในระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชนท้องถิ่น ประชาชนทั่วไป กรมเจ้าท่า และกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 109 คน มีขั้นตอนการดำเนินการจัดประชุม ดังนี้
          (1) ประธานกล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม โดย นายเจษฏา ปาลวัฒน์ ปลัดอำเภอพรหมบุรี
          (2) การให้ข้อมูลกับผู้เข้าร่วมการสัมมนา แบ่งออกเป็น 2 ช่วง
               - ช่วงแรกเป็นการนำเสนอรายงานความก้าวหน้าโครงการ โดย นายธเนศ บำรุงชีพ รองผู้จัดการโครงการ นางชลิดา ประดิษฐ์กุล ผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม อ.ยงยุทธ พึ่งวงศ์ญาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินผลกระทบด้านสังคม
               - ช่วงที่สองเป็นการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมการสัมมนาต่อความก้าวหน้าผลการศึกษาโครงการ
          (3) การแสดงความคิดเห็นและการตอบข้อซักถามของผู้เข้าร่วมการประชุม ผู้เข้าร่วมการประชุมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อความก้าวหน้าผลการศึกษาโครงการ และประเด็นข้อห่วงกังวลต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องการโยกย้ายเวนคืน ซึ่งมีวิทยากรหลักที่ทำหน้าที่ตอบข้อซักถามเกี่ยวกับโครงการและคำถามถามอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับผู้เข้าร่วมการสัมมนา ประกอบด้วย โดย นายธเนศ บำรุงชีพ รองผู้จัดการโครงการ นางชลิดา ประดิษฐ์กุล ผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม อ.ยงยุทธ พึ่งวงศ์ญาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินผลกระทบด้านสังคมนายนพดล กรุดนาค นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม (อาวุโส) และผู้ดำเนินรายการเพื่อคัดกรองคำถามโดยนายจักรกริช ธรรมศิริผู้เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน
          (4) การสำรวจความคิดเห็นผู้เข้าร่วมการประชุม ดำเนินการโดยวิธีการแจกแบบสอบถามให้ผู้เข้าร่วมประชุมกรอกแสดงความคิดเห็นและส่งคืนให้กับเจ้าหน้าที่เมื่อสิ้นสุดการประชุม

สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการอภปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เขื่อนล่าง สามารถสรุปได้ดังนี้
      1) ควรจัดทำแผนอพยพ (ในช่วงระหว่างการก่อสร้างโครงการ) เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการได้รับทราบ
      2) เสนอให้บริเวณพื้นที่จัดสรรอพยพตั้งถิ่นฐานใหม่ควรมีการจัดระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานให้ครบ และพื้นที่จัดสรรไม่ควรอยู่ห่างจากพื้นที่อาศัยเดิม
      3) ควรให้สิทธิพิเศษกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้เข้ามาค้าขาย ให้บริเวณศูนย์จำหน่ายสินค้า
      4) กรณีค่าขนย้ายจะกำหนดราคาค่าขนย้ายอย่างไร ซึ่งที่ปรึกษาได้ชี้ว่าขึ้นอยู่จำนวนทรัพย์สิน และขนาดรถขนส่ง มีราคาครั้งละระหว่าง 7,500 – 15,000 บาท
      5) ในระหว่างการศึกษาโครงการ ประชาชนสามารถต่อเติมอาคารสิ่งปลูกสร้างเพิ่มเติมได้หรือ ซึ่งทางที่ปรึกษาได้ชี้แจงว่าสามารถต่อเติมอาคารสิ่งปลูกสร้าง หรือสร้างใหม่ได้จนกว่าจะมีการประกาศพระราชกฤษฎีกาเวนคืน
      6) ความเป็นไปได้ของการพัฒนาโครงการให้เห็นเป็นจริง เนื่องจากโครงการศึกษามาหลายครั้ง อยากให้ดำเนินการจริง กลัวว่าจะอยู่ไม่ทันเขื่อนมา

 

groupmeeting3downdam

สรุปผลการประชุมกลุ่มย่อยระดับพื้นที่ ครั้งที่ 3 (เขื่อนบน)

การประชุมกลุ่มย่อยระดับพื้นที่ ครั้งที่ 3 เพื่อรายงานความก้าวหน้าผลการศึกษาของโครงการ และรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ รวมทั้งประเด็นข้อห่วงกังวลที่มีต่อการดำเนินการโครงการ ให้กับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่โครงการ โดยดำเนินการจัดประชุมเมื่อวันอังคารที่ 29 เมษายน 2557 เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ ศาลาวัดใหม่ หมู่ 1 ตำบลน้ำทรง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ หน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หน่วยงานราชการในระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชนท้องถิ่น ประชาชนทั่วไป กรมเจ้าท่า และกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 155 คน มีขั้นตอนการดำเนินการจัดประชุม ดังนี้
            (1) ประธานกล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม โดย นายสมบุญ วงษ์วัชรานนท์ ปลัดอาวุโสอำเภอพยุหะคีรี
            (2) การให้ข้อมูลกับผู้เข้าร่วมการสัมมนา แบ่งออกเป็น 2 ช่วง
                 - ช่วงแรกเป็นการนำเสนอรายงานความก้าวหน้าโครงการ โดย นายวิรัช องค์ประเสริฐ ผู้จัดการโครงการ นางชลิดา ประดิษฐ์กุล ผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม
                 - ช่วงที่สองเป็นการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมการสัมมนาต่อความก้าวหน้าผลการศึกษาโครงการ
            (3) การแสดงความคิดเห็นและการตอบข้อซักถามของผู้เข้าร่วมการประชุม ผู้เข้าร่วมการประชุมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อความก้าวหน้าผลการศึกษาโครงการ และประเด็นข้อห่วงกังวลต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องการโยกย้ายเวนคืน ซึ่งมีวิทยากรหลักที่ทำหน้าที่ตอบข้อซักถามเกี่ยวกับโครงการและคำถามถามอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับผู้เข้าร่วมการสัมมนา ประกอบด้วย โดย นายวิรัช องค์ประเสริฐ ผู้จัดการโครงการ นางชลิดา ประดิษฐ์กุล ผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม นายนพดล กรุดนาค นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม (อาวุโส) และ ผู้ดำเนินรายการเพื่อคัดกรองคำถามโดยนายจักรกริช ธรรมศิริผู้เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน
            (4) การสำรวจความคิดเห็นผู้เข้าร่วมการประชุมา ดำเนินการโดยวิธีการแจกแบบสอบถามให้ผู้เข้าร่วมประชุมกรอกแสดงความคิดเห็นและส่งคืนให้กับเจ้าหน้าที่เมื่อสิ้นสุดการประชุม

สรุปประเด็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการอภปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เขื่อนบน สามารถสรุปได้ดังนี้

ด้านการชดเชยและเวนคืนทรัพย์สิน

      1) เสนอให้มีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ โดยอย่างผู้ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ เช่น การพัฒนาอาชีพประมง ค้าขาย และท่องเที่ยว รวมทั้งให้สิทธิผู้ได้รับผลกระทบเข้ามาประกอบอาชีพค้าขายในพื้นที่จัดจำหน่ายสินค้า
      2) กรณีที่ผู้ที่ได้รับผลกระทบอาศัยอยู่หลายครัวเรือนในที่ดินแปลงเดียวกัน จะมีการชดเชยค่าที่ดินอย่างไร


ด้านวิศวกรรม
      1) โครงการดำเนินการศึกษาทบทวนมาหลายครั้ง อยากให้พัฒนาเป็นรูปธรรมและเกิดโดยเร็ว
      2) การยกระดับน้ำจะส่งผลกระทบต่อการระบายน้ำหรือไม่ เนื่องจากในพื้นที่ตำบลน้ำทรง ตำบลยางขาว และบริเวณใกล้เคียงในอำเภอโกรกพระเป็นพื้นที่ลุ่มรองรับน้ำช่วงน้ำหลาก ซึ่งที่ปรึกษาอยู่ระหว่างการสำรวจและดำเนินการกำหนดมาตรการเพื่อลดผลกระทบปัญหาดังกล่าว
      3) เมื่อยกระดับน้ำ อาจกระทบต่อการระบายน้ำ เสนอให้ก่อสร้างคลองระบายน้ำช่วยระบายน้ำบริเวณเหนือเขื่อน
      4) หลังจากการยกระดับน้ำ เสนอให้มีการบูรณาการระหว่างกรมเจ้าท่า และกรมชลประทาน ในการใช้ประโยชน์น้ำจากการเดินเรือแล้ว ควรมีการจัดสรรน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรด้วย


ด้านสิ่งแวดล้อม
      1) ขอให้พิจารณาลูกหลานคนในพื้นที่เข้าทำงานกับสำนักงานโครงการฯ เมื่อเปิดดำเนินการเขื่อนแล้ว
      2) เสนอให้หามาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ทำกิน (เพาะปลูก) บริเวณสันดอนชายหาดริมน้ำ เนื่องจากเมื่อยกระดับน้ำ จะส่งผลต่อการทำการเกษตรได้

 

groupmeeting3updam

ขอเชิญเข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยระดับพื้นที่ ครั้งที่ 3

กรมเจ้าท่า ขอเรียนเชิญ ผู้ที่มีความสนใจ เข้าร่วมประชุมการประชุมกลุ่มย่อยระดับพื้นที่ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3  ดังนี้

ขาวประชาสมพนธ-A3-กลมยอย-3

 

 

::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::