bannerfaq

ประเภทคำถาม

menufaq 08

menufaq 09

menufaq 10

menufaq 07

menufaq 06

10 คำถามที่คนถามมากที่สุด

ลักษณะการสร้างเขื่อนใช้งบประมาณมากพอสมควร มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะสร้างในลำน้ำเจ้าพระยา เพื่อลดผลกระทบต่อที่อยู่อาศัย (ด้านวิศวกรรม)

การก่อสร้างเขื่อนในลำน้ำเดิมมีขั้นตอนยุ่งยาก ค่าใช้จ่ายสูง มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายโดยเฉพาะในช่วงฤดูน้ำหลาก รวมทั้งในการก่อสร้างต้องก่อสร้างทางระบายน้ำมีขนาดที่เพียงพอในการระบายน้ำช่วงหน้าฝน ซึ่งเท่ากับต้องมีการเวรคืนในพื้นที่ดังกล่าวด้วยเช่นกัน สรุปได้ว่า การก่อสร้างเขื่อนยกระดับบนบกมีค่าใช้จ่ายถูกกว่า สามารถควบคุมการก่อสร้างให้เป็นตามแผน มีพื้นที่เวนคืนใกล้เคียงกับการสร้างเขื่อนในน้ำ

 

ปัญหาน้ำผุด ซึ่งน้ำจะซึมและดันขึ้นมาจนเกิดเป็นปัญหาน้ำท่วมได้ (ฝั่งย่านมัทรี) (ด้านวิศวกรรม)

ที่ปรึกษาจะทำการสำรวจภูมิประเทศร่วมกับการเจาะสำรวจเพื่อหาค่าระดับนำใต้ดินในบริเวณที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ แล้วนำผลไปออกแบบก่อสร้างระบบป้องกันน้ำซึมผ่าน ซึ่งอาจเป็นการตอกเสาเข็มพืด หรือการเสริมความทึบน้ำของดินริมตลิ่งโดยการขุดลอกดินเดิมออกแล้วถมกลับพร้อมบดอัดด้วยวัสดุที่เหมาะสม

 

บันไดปลาโจนมีความสูงเท่าใด เสนอให้เปลี่ยนชื่อเป็นทางสัญจรปลา และควรออกแบบให้มีความลาดชันต่ำเพื่อให้สามารถใช้งานได้จริงตามวัตถุประสงค์ (ด้านวิศวกรรม)

ความสูงเท่ากับผลต่างระดับน้ำเก็บกักเหนือประตูและท้ายประตูในช่วงหน้าแล้ง และออกแบบด้วยความลาดชันที่เหมาะสม

 

มีการเตรียมพื้นที่สำหรับการอพยพของผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงไว้ที่ไหน และมีเพียงพอต่อการอพยพหรือไม่ (ด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม)

ในเบื้องต้นได้พิจารณาพื้นที่ว่างบริเวณหัวงานเพื่อจัดเป็นพื้นที่อพยพ ซึ่งจำนวนแปลงอพยพที่จะจัดให้นั้นจะต้องสอบถามความต้องการกับผู้ได้รับผลกระทบ

 

การเดินเรือเพิ่มขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อปัญหาคลื่นเรือซัดตลิ่งหรือไม่ (ด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม)

ในบริเวณที่คาดว่าจะมีการจราจรทางน้ำอย่างคับคั่งและเป็นช่วงแคบของลำน้ำ จะมีการออกแบบก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งจาดคลื่นเรือ ซึ่งจะสามารถป้องกันความเสียหายต่อตลิ่งและทรัพย์สินริมน้ำได้

 

พื้นที่ศึกษาผลกระทบควรศึกษาตลอดลำน้ำ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากระดับน้ำที่สูงขึ้น (ด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม)

ในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบต่างๆ ของโครงการ โดยในพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนยกระดับทั้งสองแห่ง จะศึกษาครอบคลุมรัศมี 5 กิโลเมตร ส่วนพื้นที่องค์ประกอบอื่น ศึกษาครอบคลุมรัศมี 1 กิโลเมตร นอกจากนั้นยังศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมครอบคลุมตลอดลำน้ำซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการยกระดับน้ำและการเดินเรือในระยะดำเนินการ ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่อิทธิพล

 

โครงการจะมีความคุ้มทุนหรือไม่ (ด้านเศรษฐศาสตร์)

ความคุ้มค่าของโครงการสามารถดูได้จากหลายส่วน เช่น  ต้นทุนค่าขนส่งที่ถูกลง  เป็นการกระจายรายได้สู่ภาคส่วนต่างๆ เกิดการจ้างงาน การขนส่งเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น (เรือ 1 ลำสามารถบรรทุกสินค้าได้ถึง 2,000 ตัน แต่รถบรรทุก 1 คันสามารถบรรทุกสินค้าได้เพียง 20 ตัน) ลดการใช้พลังงานน้ำและลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน  ทั้งนี้ ถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล เช่นเดียวกับการสร้างถนน  สนามบิน เป็นต้น

 

โครงการนี้เป็นโครงการที่ศึกษามานานแล้ว เป็นการสร้างเขื่อนทดน้ำ ที่มีประโยชน์มหาศาล ควรทำความเข้าใจกับประชาชนทั่วไปได้รับทราบทั้งประโยชน์และผลกระทบที่มีต่อประชาชนอย่างเปิดเผย  (ด้านประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน)

กรมเจ้าท่าและกลุ่มที่ปรึกษาได้ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งกำหนดให้มีกิจกรรมการมีส่วนร่วมให้ประชาชนและทุกภาคส่วนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นทั้งในการสัมมนาระดับประเทศ จำนวน 2 ครั้ง ระดับจังหวัด จำนวน 5 ครั้ง จนถึงระดับพื้นที่ จำนวน 4 ครั้ง ซึ่งเป็นกิจกรรมต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยทุกความคิดเห็นนำมาประกอบการศึกษาโครงการฯ

 

การบริหารจัดการเขื่อนจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชลประทานหรือไม่ และควรมีการบริหารจัดการร่วมกันระหว่างกรมชลประทานและกรมเจ้าท่า (ด้านบริหารจัดการโครงการ)

จะศึกษาการบริหารจัดการน้ำที่เขื่อนยกระดับ เพื่อดูผลกระทบต่อการใช้น้ำชลประทานด้านท้ายน้ำ รวมถึงจะเพิ่มการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการเขื่อนยกระดับร่วมกันระหว่างกรมชลประทานและกรมเจ้าท่า

 

โครงการนี้จะขัดกับโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านของรัฐบาลหรือไม่ (ด้านบริหารจัดการโครงการ)

การศึกษาครอบคลุมเรื่องดังกล่าว ซึ่งหากมีผลกระทบก็จะมีการกำหนดมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบในรูปแบบต่างๆ  และมาตรการติดตามตรวจอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อไป

 

end faq