about

เกี่ยวกับโครงการ

about 01

about 02

about 03

about 04

about 05

about 06

about 07

พื้นที่ตั้งโครงการ

เขื่อนบน ตั้งอยู่ที่ ตำบลน้ำทรง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ บริเวณกิโลเมตรที่ 345 จากปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีระยะห่างจากเขื่อนเจ้าพระยาไปทางด้านเหนือน้ำประมาณ 68 กิโลเมตร

location

ที่ตั้งโครงการเขื่อนบน

ภาพจำลองบริเวณเขื่อนบน

up-1

(ก) มุมมองจากทิศเหนือ บริเวณพื้นที่โครงการเขื่อนบน

up-2

(ข) มุมมองจากทิศใต้ บริเวณพื้นที่โครงการเขื่อนบน

up-3

(ค) มุมมองจากพื้นที่สาธารณประโยชน์ บริเวณพื้นที่โครงการเขื่อนบน

 

ภาพจำลองอาคารเอนกประสงค์และอาคารประกอบอื่นๆ ในบริเวณเขื่อนบน

DamShowRoom

 ห้องแสดงนิทรรศการเขื่อน (อาคารอำนวยการและส่วนราชการ)

Auditorium

อาคารหอประชุม

OTOP

อาคารร้านอาหาร และร้านค้า OTOP

Control

อาคารศูนย์ควบคุมการปิด-เปิดประตูทางผ่านเรือ

ที่ทำการสื่อสาร และหอสังเกตการณ์

House

อาคารเรือนพักเจ้าหน้าที่

Club

อาคารสโมสรกรมเจ้าท่า

 

เขื่อนล่าง ตั้งอยู่ที่ตำบลพระงาม อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 205 จากปากแม่น้ำเจ้าพระยา และมีระยะห่างจากเขื่อนเจ้าพระยาไปทางด้านท้ายน้ำ ประมาณ 72 กิโลเมตร

location-down

ที่ตั้งโครงการเขื่อนล่าง

ภาพจำลองบริเวณเขื่อนบน

Down-1

(ก) มุมมองจากทิศตะวันออก บริเวณพื้นที่โครงการเขื่อนล่าง

Down-2

(ข) มุมมองจากทิศตะวันออก บริเวณพื้นที่โครงการเขื่อนล่าง

 Down-3

 

(ค) มุมมองจากพื้นที่สาธารณประโยชน์ บริเวณพื้นที่โครงการเขื่อนล่าง

 

ภาพจำลองอาคารเอนกประสงค์และอาคารประกอบอื่นๆ ในบริเวณเขื่อนล่าง

 

DamShowRoom

 

 ห้องแสดงนิทรรศการเขื่อน (อาคารอำนวยการและส่วนราชการ)

 

Auditorium

อาคารหอประชุม

OTOP

อาคารร้านอาหาร และร้านค้า OTOP

Control

อาคารศูนย์ควบคุมการปิด-เปิดประตูทางผ่านเรือ

ที่ทำการสื่อสาร และหอสังเกตการณ์

House

อาคารเรือนพักเจ้าหน้าที่

 

Club

 

อาคารสโมสรกรมเจ้าท่า

 

ขอบเขตของการดำเนินงาน

ขอบเขตการดำเนินงานสำรวจออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในรายละเอียด โครงการก่อสร้างเขื่อนยกระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาและน่านเพื่อการเดินเรือ ประกอบด้วย

  1. การศึกษาด้านเศรษฐกิจ
  2. งานทางด้านวิศวกรรม
  3. การศึกษาประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในรายละเอียดและการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ
  4. การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และประชุมสัมมนาเพื่อชี้แจงผลการศึกษาและรับฟังข้อคิดเห็น
  5. การศึกษาด้านการจัดการและบริหารโครงการ
  6. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการขนส่งสินค้า และผู้โดยสารทางน้ำภายในประเทศ ชายฝั่งทะเลและระหว่างประเทศ
  7. การสนับสนุนทางวิชาการ และถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีแก่บุคลากรของกรมเจ้าท่า
  8. งานจัดทำข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติ (TOR) ในการว่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง
  9. การจัดทำเอกสารประกวดราคา

แผนพัฒนาโครงการ

แผนการดำเนินโครงการเขื่อนยกระดับฯ ซึ่งแบ่งการพัฒนาเป็น 3 ระยะ มีรายละเอียด ดังนี้

1)   ระยะการศึกษาออกแบบโครงการ ประกอบด้วย การศึกษาและพิจารณารายงาน
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการเขื่อนยกระดับฯ การเสนอขอความเห็นชอบในการดำเนินโครงการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อจัดสรรงบประมาณการออกแบบรายละเอียดและการก่อสร้างก่อสร้าง และการออกแบบรายละเอียด ใช้เวลาประมาณ 3 ปี

2)   ระยะเตรียมการพัฒนาโครงการ ประกอบด้วย การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ใช้เวลาประมาณ 2 ปี ในระยะนี้กรมทางหลวงชนบทซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการปรับปรุงสะพานพรหมบุรี และกรมธนารักษ์
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการปรับปรุงท่าเรือนครสวรรค์ จะศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการดังกล่าว และนำส่งสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

3)   ระยะการพัฒนาโครงการ

      -   ระยะที่ 1 (ปีที่ 1-ปีที่ 5)

เป้าหมาย : ส่งเสริมให้มีการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากการขนส่งโดยรถบรรทุก
มาเป็นการขนส่งทางน้ำ ดังนั้น จึงส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเดินเรือใช้เรือที่มีอยู่ในปัจจุบัน ดำเนินการ โดยไม่ต้องต่อเรือใหม่เพื่อขนส่งสินค้าให้ได้ 5 ล้านตันต่อปี

รายละเอียดการพัฒนา : ก่อสร้างเขื่อนยกระดับและอาคารประกอบ ขุดลอกแม่น้ำ
เพื่อเพิ่มความลึกและความกว้างของร่องน้ำในบริเวณที่มีความลึกและมีความกว้างของร่องน้ำไม่เหมาะสม
ต่อการเดินเรือ ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งในบริเวณที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการ ติดตั้งเครื่องหมาย
ช่วยการเดินเรือและระบบควบคุมการสัญจรทางน้ำ ปรับปรุงท่าเรือนครสวรรค์ ปรับปรุงความสูงช่องลอด
ของสะพานพรหมบุรีและก่อสร้างประตูเรือสัญจรแห่งใหม่ที่เขื่อนเจ้าพระยา เนื่องจากประตูเรือสัญจรเดิม
มีขนาดเล็กและไม่สอดคล้องกับความต้องการของโครงการ ทั้งนี้ การพัฒนาร่องน้ำในระยะแรกนี้เพื่อรองรับเรือที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งกินน้ำลึกไม่เกิน 4 เมตร ความกว้างลำเรือไม่เกิน 14 เมตร

เงินลงทุน : ประมาณ 15,308 ล้านบาท

-   ระยะที่ 2 (ปีที่ 6-ปีที่ 15)

เป้าหมาย : เพื่อเพิ่มศักยภาพในการขนส่งสินค้า เนื่องจากมีปริมาณสินค้าเติบโตขึ้นโดยพัฒนาร่องน้ำให้รองรับเรือที่กินน้ำลึกไม่เกิน 4 เมตร ขนาดความกว้างลำเรือไม่เกิน 16 เมตร เพื่อขนส่งสินค้าให้ได้ 20.65 ล้านตันต่อปี

รายละเอียดการพัฒนา : ขุดลอกเพื่อเพิ่มความกว้างร่องน้ำและก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งเพิ่มเติม

เงินลงทุน : ประมาณ 5,759 ล้านบาท

-   ระยะที่ 3 (ปีที่ 16-ปีที่ 30)

เป้าหมาย : เพื่อเพิ่มศักยภาพในการขนส่งสินค้าโดยพัฒนาร่องน้ำให้รองรับเรือบรรทุกสินค้าที่กินน้ำลึกไม่เกิน 5 เมตร ขนาดความกว้างลำเรือไม่เกิน 16 เมตร เพื่อขนส่งสินค้าให้ได้ 23.88 ล้านตันต่อปี

รายละเอียดการพัฒนา : ขุดลอกเพื่อเพิ่มความลึกร่องน้ำ

เงินลงทุน : ประมาณ 3,389 ล้านบาท

รวมเป็นเงินลงทุนก่อสร้างโครงการทั้งสิ้นประมาณ 24,457 ล้านบาท

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

boat

ศึกษาทบทวนโครงการพัฒนาการขนส่งทางน้ำภายในประเทศ และโครงการศึกษาความเหมาะสมฯ เพื่อก่อสร้างเขื่อนยกระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาและน่านเพื่อการเดินเรือ และศึกษาปัญหาอุปสรรคการขนส่งสินค้าทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งที่ก่อสร้างแล้วและจะก่อสร้างการ สัญจรในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ค่อนข้างแออัดคับคั่งในช่วงเวลาเร่งด่วน และการเกิดภัยแล้งและอุทกภัย เป็นต้น

 

boat

ศึกษาทบทวนศักยภาพในการพัฒนาการขนส่งทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและน่านเพื่อการเดินเรือ ครอบคลุมพื้นที่เขตอิทธิพลของโครงการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเพิ่ม เติมให้ครบถ้วน ถูกต้องและครอบคลุมโดยข้อมูลสถิติย้อนหลังจนถึงปัจจุบันอย่างน้อย 15 ปี เช่น ปริมาณและประเภทสินค้า/เรือ และขนาดเรือ ต้นทาง-ปลายทางสำหรับการขนส่งสินค้าทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ สัดส่วนการขนส่งสินค้าภายในประเทศเปรียบเทียบทุกสาขา สถิติการระบายน้ำ/กักเก็บน้ำที่เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนชัยนาท รวมทั้งการบำรุงรักษาร่องน้ำ เป็นต้น

 

boat

ศึกษานโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 แผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคม/กรมเจ้าท่า/กลุ่มจังหวัดที่เกี่ยวข้อง นโยบายการบริหารจัดการน้ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยาในภาพรวม โครงการฟื้นฟูสภาพลำน้ำ/แหล่งน้ำที่รัฐบาลมีนโยบายให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการเพื่อฟื้นฟูเยียวยาและวางแผนป้องกันการเกิดอุทกภัยและภัยแล้งที่ อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต รวมทั้งศึกษาแผนงาน/โครงการของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ทั้งการจัดสรรน้ำและการระบายน้ำ เป็นต้น

 

boat

ศึกษาการพัฒนาแม่น้ำเพื่อการเดินเรือขนส่งสินค้าของประเทศที่พัฒนาแล้วด้วย เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทันสมัย การก่อสร้างเขื่อนยกระดับเพื่อการเดินเรือขนส่งสินค้า มานำเสนอเป็น Case Study อย่างน้อย 3 ประเทศ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศในสหภาพยุโรป (ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น) และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ได้แก่ สัดส่วนการขนส่งสินค้าในแต่ละ Mode พลังงานที่ใช้ในภาคการขนส่ง ต้นทุนการขนส่งสินค้า ปริมาณและประเภทสินค้า/เรือ การบำรุงรักษาร่องน้ำ ค่าใช้จ่ายและรายละเอียดสิ่งก่อสร้าง รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ (Operate) ปริมาณการใช้น้ำเพื่อประโยชน์ในด้านอื่นๆ การบริหารจัดการ และปัญหาอุปสรรคที่เคยเกิดขึ้นและการแก้ไข เป็นต้น

 

boat

เพื่อศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในรายละเอียด ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2545 โดยให้สอดคล้องตามแนวทางที่ สผ. กำหนดในประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฉบับลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2552 และฉบับ พ.ศ.2553 สำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ (EHIA) และตามที่หน่วยงานอื่นให้ข้อเสนอแนะจากมติที่ประชุมและการแจ้งเวียน แล้วนำเสนอ สผ. และ กก.วล. ให้ความเห็นชอบก่อนนำส่งร่างรายงานการสำรวจออกแบบฉบับสุดท้าย

 

boat

ทบทวนผลการออกแบบเบื้องต้น สำรวจข้อมูลทางด้านอุทกศาสตร์-อุทกวิทยา ด้านวิศวกรรมและอื่นๆ เพื่อออกแบบรายละเอียดตามโครงการ พร้อมองค์ประกอบอย่างครบถ้วนตามหลักวิชาการที่เป็นมาตรฐานสากล เช่น เขื่อนยกระดับฯ ทั้ง 2 แห่ง การปรับปรุงท่าเรือ/ร่องน้ำ/ทุ่นเครื่องหมายการเดินเรือ เขื่อนป้องกันตลิ่งพัง โรงไฟฟ้าพลังน้ำ อาคาร/สำนักงานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในลักษณะการบริหารจัดการเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว (One stop service) ทั้งนี้ การออกแบบในรายละเอียดฉบับสุดท้าย รายละเอียดประกอบแบบ รายงานการออกแบบรายละเอียด ประมาณการราคา ข้อกำหนดและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการประกวดราคาจะต้องเป็นไปตามที่ สผ. และ กก.วล. เห็นชอบแล้ว นอกจากนี้ต้องจัดทำข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติสำหรับจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง

 

boat

ศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินและความเป็นไปได้ในการจัดหาที่ดิน เพื่อดำเนินโครงการตามระเบียบฯ พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งจะต้องเสนอการประเมินราคาที่ดินประกอบการจัดซื้อโดยบริษัทที่ชำนาญ การและวิศวกรที่ปรึกษาฯ ต้องเสนอแนะกรมฯ ให้มีหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขออนุญาต/ขอใช้/จัดซื้อ/เวนคืน ที่ดินและติดตามจนแล้วเสร็จ

 

boat

ศึกษาและเสนอแนะการบริหารจัดการโครงการภายหลังการก่อสร้างแล้ว ทั้งในด้านโครงสร้างการบริหารเขื่อนยกระดับฯ และอำนาจหน้าที่ แผนการดำเนินงาน กระบวนการ/ขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินงานพร้อมทั้ง Flow Chart เช่น การกักเก็บน้ำ/ระบายน้ำ การเปิด/ปิดประตูน้ำ การผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ การบำรุงรักษา การท่องเที่ยว การเก็บค่าธรรมเนียมการผ่านประตูน้ำ และการจัดทำข้อมูลสถิติ MIS โดยเสนอรูปแบบ/ตารางสถิติเพื่อใช้ในการบริหารการตัดสินใจในแต่ละระดับ เช่น ปริมาณและประเภทสินค้า/เรือรายได้-รายจ่าย การกักเก็บน้ำ/ปริมาณระบายน้ำในแต่ละวัน เป็นต้น เสนอแนะหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากร การเสนอกฎ/ระเบียบในการดำเนินงาน รวมถึงการติดตามประเมินผล

 

boat

เพื่อสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประชาชน ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ เช่น ข้าราชการ ผู้นำท้องถิ่น นักวิชากร องค์กรอิสระ เป็นต้น ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548 และกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตาม ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฉบับลงวันที่ 16 มิถุนายน 2552 ที่กล่าวแล้ว เน้นให้มีการเผยแพร่ข้อมูลรายละเอียดโครงการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง รวมทั้งเกิดกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง โดยผ่านช่องทางสื่อสารที่หลากหลาย อันเป็นประโยชน์ในการพัฒนาโครงการที่สามารถตอบสนองได้ตรงตามความต้องการของ แต่ละกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง

 

boat

วิเคราะห์ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม (EHIA) เพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมและความคุ้มค่าในการลงทุนทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ-สังคม (EIRR) และด้านการเงิน (FIRR) โดยประเมินต้นทุนคงที่และต้นทุนแปรผัน ผลประโยชน์ตอบแทนทั้งทางตรง (Tangible) และทางอ้อม (Intangible) ประกอบการตัดสินใจ

 

boat

จะต้องให้การสนับสนุนทางเทคนิคและการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยสนับสนุนการจัดทำเอกสารประกอบการชี้แจงหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและเข้าร่วมชี้แจงตามที่กรมฯ แจ้ง การจัด Model Course เกี่ยวกับการบริหารจัดการตามโครงการก่อสร้างเขื่อนยกระดับน้ำเพื่อการเดิน เรือ การบริหารจัดการโลจิสติกส์ด้านการขนส่ง (Transport Logistics) โดยฝึกอบรมในลักษณะ Training for Trainers เพื่อให้บุคลากรกรมฯ สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถถ่ายทอดเป็นความรู้ได้ โดยจัดทำเอกสารประกอบเป็นรายงานทางวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 

boat ทบทวน และปรับปรุงระบบฐานข้อมูลการขนส่งทางน้ำภายในประเทศ ชายฝั่งทะเล และระหว่างประเทศที่มีอยู่ในทันสมัย สามารถรองรับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อประกอบการวางแผนการตัดสินใจ การปฏิบัติงานและการวิจัยเพื่อการพัฒนา รวมทั้งการจัดทำแผนการพัฒนา ตัวชี้วัดหน่วยงาน และการลดปัญหาอุปสรรคการประกอบการขนส่งทางน้ำ และการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของภาคการผลิตและภาคการขนส่งของประเทศไทย

 

องค์ประกอบของโครงการ

1)   งานก่อสร้างเขื่อนยกระดับพร้อมประตูเรือสัญจรในแม่น้ำเจ้าพระยาการก่อสร้างเขื่อนในบริเวณที่ลำน้ำมีความโค้งพอที่จะขุดคลองลัด (Cut off) เพื่อให้สามารถก่อสร้างโครงสร้างของเขื่อนบนแผ่นดินได้

2) งานก่อสร้างประตูเรือสัญจรแห่งใหม่ที่เขื่อนเจ้าพระยา เนื่องจากประตูเรือสัญจรเดิมของเขื่อนเจ้าพระยามีขนาดและความลึกไม่เหมาะสมกับขนาดเรือในปัจจุบันและอนาคต จึงจำเป็นต้องก่อสร้างประตูเรือสัญจรใหม่ โดยกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมบริเวณฝั่งซ้ายของโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนเจ้าพระยา ห่างจากประตูเรือฯ เดิมไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 800 เมตร

3)   งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งในบริเวณที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการ

4)   ขุดลอกแม่น้ำเพื่อเพิ่มความลึกและเพื่อเพิ่มความกว้างของร่องน้ำในบริเวณที่มีความลึกและมีความกว้างของร่องน้ำไม่เหมาะสมต่อการเดินเรือ

5)   รื้อถอนรอบังคับกระแสน้ำ เนื่องจากจะเป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ

6)   ติดตั้งเครื่องหมายช่วยการเดินเรือและระบบควบคุมการสัญจรทางน้ำ

7)   ปรับปรุงท่าเรือนครสวรรค์ให้สามารถรองรับเรือในอนาคตได้

8)   ปรับปรุงความสูงช่องลอดของสะพานพรหมบุรีให้เรือสามารถลอดผ่านได้อย่างปลอดภัย

projectองค์ประกอบของโครงการ